สัมภาษณ์เรื่อง : หนังสือ James is Back
วันที่ : 23 พ.ย. 2023
สถานที่ : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ลิงก์ต้นฉบับ : https://www.facebook.com/EasternBookFest/videos/991379341968413/?app=fbl
----------------
สารบัญ
หนังสือ "James is Back"
ผู้สัมภาษษณ์ (น้องพันช์) :
สำหรับ Jame is back เนี่ยเป็นหนังสือภาคต่อของหนังสือ 1 ปีอเมริกาฯ ใช่ไหมค่ะ
เจม : (หายใจเข้า - อารมณ์ว่าต้องเล่าย้อนยาวหน่อยนะ)
งั้นต้องย้อนกลับไปถึงการสัมภาษณ์กับพี่น้ำผึ้งกับพี่แพร์ เมื่อแปดปีที่แล้ว... (ยิ้ม มองไปทางผู้ชมที่นั่งอยู่ล่างเวที ด้านล่างมีคุณผึ้งกับคุณแพร ผู้สัมภาษณ์ที่ มช ยุคแรก - ที่วันนี้เป็นเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด - มาเชียร์ให้กำลังใจ)
ตอนนั้นเป็นเรื่อง 1 ปี อเมริกาฯ
เรื่องเกี่ยวกับเด็กเชียงใหม่คนนึงที่ไม่มีความกล้า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ วันนึงได้ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปทำเรื่องห่ามๆ เกรียนๆ แล้วตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษา สังคม ความกล้า ทุกอย่างผ่านเด็กคนหนึ่ง ในวัย 17
มันเป็นกระแสในช่วง 8 ปีที่แล้ว จนวันนี้เจมส์ในเรื่อง 1 ปี กับชีวิตที่อยู่ในอเมริกา ที่ในเรื่องตอนนั้น อายุ 17...
ตอนนี้ อายุ 35... (หัวเราะ)
เจม :
คือ... 8 ปีที่ผ่านมา พี่ก็วนไปเขียนหนังสือเล่า Coming of Age ช่วงตอนโตก่อน
อย่างเรื่อง "Route13 : Part one และ two" ที่เล่าการออกจากคอมฟอร์ตโซน ของผู้ชายสองคนที่ไม่รู้จักกัน ไปซ้อนมอเตอร์ไซด์ผ่าทวีปอเมริกาในหน้าหนาว อากาศติดลบ 7,000 กว่ากิโลเมตร ในช่วงที่การเมืองอเมริกาดุเดือดที่สุด ซึ่งไอ้คนขับ ตอนนี้ เขาเป็น สส. พรรคนึงที่ดังมากๆ ไปแล้ว (ยิ้ม)
เรื่อง "13 Years After" เล่มที่เล่าเจมในวัย 30 ที่เหนื่อยล้าจากการทำความฝัน จนเขาไม่รู้จะไปยังไงต่อ เป็นเล่มที่ย้อนกลับไปอีเฟรต้า จากเล่ม 1 ปี อเมริกา เล่มนี้ แฟนหนังสือหลายคนให้เป็นมาสเตอร์พีซของพี่เลย
แล้วก็มี ไปญี่ปุ่นด้วยเงิน 7,000 เป็นเล่มที่ดังมากๆ คนแชร์ไปเป็นหมื่นๆ แชร์ ที่ตอนแรกไม่ได้จะขาย กะเขียนให้อ่านฟรี แต่คนชอบ สุดท้ายกลายเป็นเล่มที่ขายดี (หัวเราะ)
แล้วก็พวกรวมเล่มที่เรียบเรียงให้คนอื่น
อย่าง ตามติดชีวิตอินเดีย 1-2, เนิร์ดคลั่ง แว้นผ่าทวีป, เอเลี่ยนในซานฟรานซิสโก พวกนี้เราก็เอาเรื่องมา แล้วเรียบเรียงใหม่ให้อ่านสนุกและง่ายขึ้นทั้งหมด บางเล่มนี่เรียกว่าเขียนให้ 5555
แล้วก็อีกหลายเล่ม อย่างเล่ม พังเรนเจอร์, พังเรนเจอร์ Age of Corona ที่เล่าการพจญภัยเบื้องหลังการทำสำนักพิมพ์ชี้ดาบ ที่ก็เป็น coming of age ของการเติบโตผ่านการทำงาน เล่าความยากในการมาถึงเป้าหมาย ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า Learn it the hard way
คือพี่ไม่ค่อยเชื่อระบบอ่ะ เลยลองผิดลองถูกเองทั้งหมด จนมาถึงวันนี้
เป็นความดื้ออ่ะ คิดว่าทุกอย่างนี้ก็เป็นผลผลิตของตัวเจม จากเรื่อง James is Back (หัวเราะ)
ผู้สัมภาษษณ์ (น้องพันช์) : (ตาโต ฟังอย่างใจจ่อ พยักหน้าตาม)
เจม :
นั่นล่ะ ก็วนไปเขียนมาตลอด 8 ปี จากเล่มแรก กว่าจะมาเป็น "Jame is back" ที่ถ้าตามทามไลน์ควรจะเป็นเล่มที่ 3 เพราะมันพูดถึงเจม ในร่างไซย่า ตอนกลับมาหลังเล่ม 1 ปี อเมริกาฯ แล้วกลับมาเรียนที่เชียงใหม่
กลายเป็นว่า กว่าจะได้เขียน ก็กลายเป็นลำดับที่ 16 (หัวเราะ)
ซึ่งคาแรคเตอร์ที่ถูกจดจำของชี้ดาบ เกิดจาก "1 ปี อเมริกาฯ" นะ มันเป็นหนังสือหยาบคายยุคแรกๆ เป็นคาแรคเตอร์ที่ส่งผลมาถึงทุกวันนี้
จนเป็นคาแรคเตอร์ไปแล้ว
แต่ว่าเจมส์อีสแบ็กก็กลับมาในอารมความคลั่งใหม่ก็เป็นเด็กเกรียนที่ไปฝึกความกล้าจากอเมริกา
แล้วต้องกลับมาอยู่โรงเรียนเชียงใหม่ซึ่งผมบอกชื่อโรงเรียนไม่ได้ ผมกลับมาในฐานะคาเลี่ยม
คนเชียงใหม่ต้องรู้จักอะ คุณมาจากจังหวัดอะไร
****หนูมาจากลำปางคะ
ลำปางใช้คำว่าเลี่ยมไหม
**จะเป็นคุณแม่หนูที่ใช้ เพราะคุณแม่หนูเป็นคนเมืองคนเชียงใหม่จะเป็นคำที่โดนที่บ้านกรอกหูมาว่าหญิงเลี่ยม
ซึ่งพี่ไปทำการวิจัยมาหมดแล้ว พี่ไปถามมาหลายจังหวัดมากไม่ว่าจะเป็นเชียงราย น่าน แพร่ พี่พบว่าจริงๆแล้วคำว่าเลี่ยมเนี่ย ไม่ได้เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายขนาดนั้นนะ แต่มันใช้กันมากๆในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะว่าเจมส์เนี่ยตอนนั้นเป็นเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการที่โดนบอกว่าอย่าเลี่ยม
อยู่ในเชียงใหม่เนี่ยอย่าเลี่ยม ไม่งั้นอาจจะโดนต่อยได้
เจมส์ก็เลยเป็นเด็กที่เก็บกดเก็บทุกอย่างแล้วก็กลับมาระเบิดพลังที่แท้จริง
ที่ในเล่มนี้ใช้คำว่าไซย่า ที่โรงเรียนในเชียงใหม่
นี่คือภาพรวมครับ
***แล้วด้วยความเลี่ยมกับอีกอย่างนึงก็คือความภาษาเหนือความที่เขาเรียกกันว่า อู๋ปันแรด
ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่เพราะหนูก็เป็นคนเหนือที่พูดไม่ได้เหมือนกัน
ใช่พี่เหมือนกัน พี่ก็ไม่ค่อยอยากพูดเหมือนกัน
พี่จะโดนหาว่าเลี่ยมอะไรนะ อู๋ปันแรด แปลว่าอะไรนะ อย่ามาเลี่ยม
***เจมส์ตอนนั้นก็ไม่อยากพูดใช่ไหมค่ะ
การอยู่ในเชียงใหม่เนี่ย ในวัยมัธยมต้นตอนประถม คุณจะเจอกับสถาณการณ์สังคมที่ทุกคนในโรงเรียนจะพูดคำเมือง
แล้วภาษาเมืองบอกตามตรง ยากกว่าภาษาอังกฤษเยอะ
พี่จำได้เลยมาเชียงใหม่ครั้งแรกมาจากแม่ฮ่องสอน แต่แม่ฮ่องสอนเป็นเมืองเดียวในภาคเหนือที่ไม่พูดคำเมือง
เป็นจังหวัดที่มีคนเมืองบ้างแต่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่พูดคำเมือง ทีนี้เราก็โตมา10ขวบ พูดไทยแล้วเราพูดสำเนียงกรุงเทพ เรามาเชียงใหม่ คือมึงมาต่างประเทศแน่นอน
คำแรก
วันนั้นเพื่อนก็ทำเวรอยู่ แล้ววันนั้นก็เรียนไม่รู้เรื่องเลย เพื่อนก็มาถาม ขะใจ๋เลาะ
เราก็ อะไรวะ ห่ะ ครับ
ก็เข้าใจว่าเขา ว่าไอ้ที่เรียนมาทั้งหมออะ เข้าใจไหม
เออ ก็ๆ เข้าใจนะ ละก็นั่งไปนั่งเก็บกระเป๋าไปแบบงงๆแล้วพูดอีกรอบนึง ขะใจ๋เลาะ
คือมันทำเวรแล้วมันบอกว่า มึงเกะกะอะ มึงรีบๆลุกออกไปจากตรงนี้ ขะใจ๋มันแปลว่ารีบๆเร็วๆดิ
คือ...
กูจะไปรู้ได้ยังไง ว่าคำนี้แปลว่ารีบๆแล้วตอนนั้นพี่อายุ10ขวบ
โอโหภาษาอังกฤษยังง่ายกว่า มีอันนึงหนักกว่าเป็นคำเมือง
เมื่อย
เมื่อยเนี่ยแปลว่าป่วย แต่ในภาษาไทยเมื่อยแปลว่าปวดเมื่อย
ใช่ไหม มันมีวันนึงผมเป็นไข้หวัดใหญ่ แล้วมันหนักมาก
เราแบบอยากอ้วก มันแบบไม่ไหว
หน้าซีดแดง เพื่อนมาทักว่า
ธีรนัยเมื่อยก๋า
กูไม่ได้เมื่อยกูจะตายอยู่แล้ว รีบพากูไปโรงบาลเดี่ยวนี้
กูไม่เมื่อยยย
นี่คือสิ่งที่เราเจอในฐานะคนไทย ที่เจอมาสิบปีที่แล้ว
แล้วพี่ก็เติบโตมา การที่คุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่องเราใช้เวลานานมากในการฟังคำเมืองจนเข้าใจ
แล้วถึงแม้ว่าโตมาถึงทุกวันนี้เราก็ยังไม่มีความมั่นใจมากพอที่จะเล่ากับคนในภาคเหนือด้วยความมั่นใจ
เพราะเราไม่รู้ว่า
เค้าจะเข้าใจสิ่งที่เราพูดขนาดนั้นรึเปล่า
แล้วมันก็ทำให้เด็กคนนึงเก็บกด
มาพูดอะไรก็ไม่ได้ แล้วก็โดนบอกว่าอย่าเลี่ยม
ถ้าเราไม่ฝึกเราไม่เลี่ยมออกมา เราจะพูดกไม่ได้ถูกไหม
แล้วเขาก็พูดว่า อู๋บ่แร็ด
ก็ไม่ต้องพูดไหม อย่าพูดเลยอย่าฝืน
แล้วก็บอกว่าเราไม่พยายาม ขัดแย้งย้อนแย้งไปหมดเลย งง หมด
เจมส์เป็นผลผลิตจากจังหวัดเชียงใหม่โดยธรรมชาติ
คือมาจากต่างจังหวัดแล้วเขามีสิ่งที่เป็นคำถามอยู่ข้างในที่เขาไม่ได้คำตอบเลย
เขาได้คำตอบตอนบินไปอเมริกาแล้วพบว่าโอโหภาษาอังกฤษง่ายกว่าคำเมืองเยอะ เพราะอย่างน้อยกูพูดได้
อย่างน้อยกูก็กลับมาพูดได้วะ แล้วนี่กูอยู่เชียงใหม่มา17ปียังพูดคำเมืองไม่ได้เลย
แล้วก็กลับมาพบว่า
โอเคกูจะไม่เป็นเจมส์ที่อ่อนแออีกต่อไป
**จะเป็นเจมส์ที่แข็งแกร่งขึ้น
ใช่จะเป็นเจมส์ในร่างไซย่า
***ทำไมพี่เจมส์ถึงเรียกมันว่าร่างไซย่า?
ในเรื่องเจมส์อีสแบ็กมันจะใช้คำพูดหลักๆคือเจมส์ไม่ใช้คำกว่ากล้า แต่เจมส์กลับมาในร่างไซย่า
ร่างไซย่าหมายถึงว่าคุณไม่ได้กล้าโดยธรรมชาติ คือไม่รู้รุ่นนี้คนเคยดูดราก็อนบอลไหม
คือดราก็อนบอลอะตอนแรกเขาก็จะผมดำถูกไหม แต่ถ้าเขาจะเป็นร่างไซย่าเขาจะชาร์ตพลัง แล้วผมก็จะเปลี่ยนเป็นสีทอง
แล้วมันก็จะมีพลังอยู่ข้างนอก
มันหมายถึงว่าคุณกำลังเบ่งอะไรซักอย่างออกมาจากข้างในของคุณไม่ได้กล้าโดยธรรมชาติ อย่างทุกวันนี้อาจจะเป็นความกล้าโดยธรรมชาติแล้ว
แต่ว่าก่อนหน้านั้นเนี่ยตอนที่เจมส์ที่เป็นเด็กเชียงใหม่ที่โดนบอกว่าอย่าเลี่ยมมาตลอด เขากลับมาเชียงใหม่ โดยที่เขาอยากจะกล้าขึ้น เขาต้องใช้พลังเท่านั้น
แล้วในเรื่องเขาก็เปรียบเรื่องนี้ว่าพลังไซย่าครับ
นี่คือเหตุผล และการกลับมาของเจมส์พอมันมีคำถามมากมายมันเลยกลายเป็นว่า เชี่ยหรือกูได้พลังฮาคิสังเกตวะ คือเรากลับมาพบคำถามทั้งหมดเลย
***ในเมื่อสิ่งที่ทำให้เขากลับมาคือความกล้า
ความกล้าที่เขาจะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
ความกล้าที่จะตั้งคำถามกับหลายๆอย่างที่เขาเจอ
พี่เจมส์คิดว่าทุกวันนี้ในชีวิตของเด็กๆและนักศึกษาอย่างเราๆ ความกล้าและความมั่นใจเนี่ยเป็นยังไง
อย่างที่บอกเมื่อกี้คือ พอเจมส์มันได้ไปเมกา
ในหนังสือคือเจมส์เล่าผ่านเด็กอายุ18 แต่ถ้าให้พูดในมุมผู้ใหญ่คนนึงแล้วเรามองสังคมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
สังคมเชียงใหม่อาจจะมีสังคมทีอยากให้คุณอยู่เป็นกลุ่ม
อย่าแตกแถว เพราะสมัยก่อนเราอาจจะมีสงครามหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้ต้องปฎิบัติตามแบบนั้น
แต่ในประเทศอย่างอเมริกาเนี่ยคุณต้องเข้าใจก่อนว่าการที่ประเทศอเมริกาก่อตั้งขึ้นมาได้ มันเกิดจากคนที่ไม่โอเคกับระบบเก่านะ
เมื่อคุณมองกลับไปยังยุคกลางที่ทุกอนูของยุโรปโดนหลอมโดยคริสตจักร คนก็โดนบอกว่าทุกอย่างต้องเป็นอย่างงี้
คุณพูดอะไรก็ผิดหมด คุณจะโดนล่าแม่มด
ทีนี้เวลามันผ่านมา มีคนกลุ่มหนึ่งที่รู้สึกว่าเราไม่อยากอยู่ภายใต้อะไรแบบนี้อีกแล้ว
เห้ยมันจะมีที่ไหนที่ไปได้บ้าง
วันนึงโคลัมบัสค้นพบอเมริกา แล้วค้นพบว่ามันคือทวีปใหม่ คนกลุ่มนี้แหละที่ไม่พอใจ ก็เลยเก็บของย้ายไปทวีปใหม่
แต่ประเด็นก็คือทวีปใหม่ไม่ได้เหมือนการที่คุณไปเที่ยว
เรือเมย์ฟาวเวอร์ มันคือเรือที่พาคนจากยุโรปไป
พอไปถึงจากสมมุติขนมา100-300คน มีคนรอดอยู่แค่50%หมายถึงว่าคนรู้อยู่แล้วว่าการจะไปที่นี่
ต้องใช้ความกล้ามากเพราะคุณอาจต้องตาย
พอไปตั้งปักหลักฐานคุณก็ต้องเริ่มทำทุกอย่างใหม่
เพราะว่ามันไม่มีอะไรเลย คุณต้องเริ่มจาก 0 คุณต้องใช้ความกล้า
ในช่วงที่เมย์ฟาวเวอร์สร้างขึ้นคนก็ตายไป80เปอร์เซนเลยมั้ง
มันเหลือคนน้อยมากจนกระทั้งเหลือสิ่งที่คุณเคยได้ยิน
คือเรื่องthanksgiving
มันคือสถาณการณ์ที่ในวันที่เมย์ฟลาวเวอร์มันแทบจะไม่เหลือคนแล้ว ชาวอินเดียแดงมาช่วยไว้เพื่อให้อเมริการอดไปได้ ทีนี้พอเรามาพูดถึงความกล้า
ถ้าคุณจะต้องบุคเบิกอะไรใหม่ๆ คุณต้องไปเจออะไรที่มันยากๆ การไม่มีความกล้าไม่ได้เลย เพราะสุดท้ายคุณก็จะแพ้กับทุกๆอย่าง ทีนี้เรามาเปรียบเทียบกับเด็กรุ่นใหม่
เด็กรุ่นใหม่ควร จะต้องมีความกล้าแค่ไหน
นี่น่าจะเป็นยุคที่คุณต้องมีความกล้ามากกว่าทุกยุคเลย
เพราะว่ามันไม่มีแบบแผนให้คุณทำตามได้อีกแล้วอย่างสมัยก่อนเราไม่มีโซเชี่ยวเน็ตเวิร์ก
เรายังไม่มีอะไรใหม่ทุก6เดือนแบบนี้
คุณยังสามารถตามประเพณีเดิมได้ หมายความว่าคุณยังไม่ต้องเลี่ยมคุณอยู่ในแถว คุณจะไม่ตาย
แต่ถ้ายุคนี้ ถ้าคุณไม่เป็นคนเลี่ยม คุณอาจจะมีชีวิตที่ยากมากๆเพราะมันเร็วมากๆเลย เมื่อก่อนนะแค่กดโพสแค่ครั้งเดียว
คนก็จะเห็นกันเป็นพันๆละ ทุกวันนี้พอทุกคนเล่นติ๊กต้อก
พี่เหมือนลุงคนนึงที่พยายามอยู่ในติ๊กต้อก
กูทำยังไงก็ต้องเต้นรึเปล่า กูทำไม่ได้ พี่ก็ยังไม่คิดว่ากูจะแก่เร็วขนาดนี้
นี่คือเหตุผลครับ ที่พี่ตอบคำถามน้อง
***พี่เจมส์คิดว่าถ้าเป็นตัวเจมส์จากยุคปี 2006
ถ้าเขาได้มาอยู่ในปี2023 ความคิดความกล้า ความมั่นใจอะไรหลายๆอย่างที่เขาตั้งคำถาม มันจะแตกต่างออกไปไหมค่ะ
ถ้างั้นต้องเล่าเนื้อหาในเจมส์อีสแบ็ก คราวๆว่า เจมส์ในเรื่องอยู่ในสังคมคนห้ามเลี่ยม มึงกล้าไม่ได้ มึงห้ามกล้า
มึงกล้ามึงเลี่ยมทันที
แล้วก็มีเด็กหลังห้องพร้อมจะตีมึงตลอดเวลา
โชคดีตอนนั้นเจมส์กลับมาด้วยกล้าม ตอนนั้นตัวใหญ่เด็กหลังห้องรู้สึกว่าเจมส์ตัวใหญ่เกินไป มันไม่กล้าตี
ถ้าเกิดว่ามันเป็นร่างที่ก่อนไป ตัวแบบอุ้ยคงโดนกระทืบปากแตกทุกวันละ
ยุคนั้นมันโหดขนาดนั้น ตลกมาก
ฉะนั้นคำถามของเราก็คือเจมส์ปี 2006
ถ้ากลับมาตอนนี้เป็นยังไง
หลายคนที่อ่านเล่มนี้บอกว่าจริงๆแล้วเจมส์คือเจน z ในยุคเจนy เป็นเด็กเจน z ก็คือเอาจริงทุกวันนี้พี่มีแฟนหนังสือพี่รู้สึกว่าพี่คุยกับพวกเรารู้เรื่องกว่าคนรุ่นพี่
พี่รู้สึกว่าคนรุ่นพี่อะไรไม่รู้อะ งง พี่งง พี่ไม่เข้าใจ
แบบเห้ยทำไมอะ ทำไมถึงไม่ได้ ทำไมไม่ได้
พี่รู้สึกว่าเจน z คือเจนที่เห็นความเป็นไปได้มากกว่า
เพราะเราจะแก้ปัญหาจากที่เราเจอเอง
เพราะว่าทุกอย่างมันเปลี่ยนไวมาก เราจึงมีสกิลในการแก้โจทย์ ในขณะที่เจน z เนี่ย เราโตมากับการที่ๆทุกอย่าง
โดนบอกว่าเป็นอย่างงี้ อย่างงั้น
เพราะทุกอย่างมันถูกประดิษฐ์มานาน2000ปีแล้วมันยังถูกใช้มาต่อเนื่องโดยที่โลกยังไม่เปลี่ยนมาใช่ป่ะ
ถ้าเจมส์ตอนนั้นมาอยู่ตอนนี้หรอ
ก็คิดว่าก็คงจะโดนจับเข้าคุกไปแล้วนะ
แต่เจมส์ ในปี2023เจมส์ไม่ได้ก้าวร้าวขนาดนั้น
แต่ที่เจมส์มีคือ การตั้งคำถามสู่การได้เป็นตัวของตัวเอง
และนี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ในเรื่องเจมส์อีสแบ็ก
มันคือการตั้งคำถามว่าในสังคมที่มันหลากหลายขนาดนี้ที่
เราไม่รู้ว่าจะไปไหนดี แล้วทุกคนบอกว่าสิ่งนี้ดี
สิ่งนั้นดี แล้วจะรู้ได้ไงละ แล้วอันไหนที่มันเหมาะกับเรา
เจมส์เป็นคนที่ตั้งคำถามตรงนั้นได้ แล้วเขาก้าวเข้าไปสู่สิ่งที่เขาอยากจะเป็นมากขึ้นทุกๆวัน
ผ่านการเจอสิ่งที่ไม่ชอบผ่านสังคมแอนตี้ และแอนตี้สังคมสุดท้ายเขาค้นพบความหมายที่แท้จริง ของการเป็นตัวเขาเองและนี้คือคีย์ที่สำคัญของเจมส์
ฉะนั้นถ้าเจมส์อยู่ใน2023พี่คิดว่า
เจมส์จะยังคมกว่าหลายคน แต่จริงๆเด็กหลายคนใน2023นี้ก็คล้ายๆเจมส์มากเลยนะการตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะค้นพบคุณค่าในตัวเองได้ยังไง
เพราะว่าชีวิตมันคือการค้นพบตัวเอง
นั้นแหละครับ
**แน่นอนเพราะว่าสำหรับหนูที่อ่านมาหนูก็ให้คำนิยามว่าเขาคือความกล้าแล้วก็ความมั่นใจที่จะเป็นตัวของตัวเองมาก
จากที่ได้คุยกับพี่เจมส์มาก่อนหน้านี้ หนูพบว่าเราก็เจออะไรหลายๆอย่างคล้ายกันมากๆแล้วพอได้อ่านเล่มนี้ก็ทำให้หนูกลับไปมอง...
อย่างอะไรบ้าง พี่อยากถามเลยว่าที่คล้ายๆกันอะพี่เห็นว่าเราเป็นนักกิจกรรม เรามากลายเป็นนักกิจกรรมได้ยังไง
เราค้นพบอะไร
***จากตอนเด็กๆหนูเป็นคนที่ไม่พูดเลย
ไม่พูดจนโรงเรียนเขาไม่รับ แล้วกลายเป็นว่าพอเริ่มพูด
ก็ไม่หยุดพูดอีกเลย กลายเป็นพูดมากขึ้นเรื่อยๆๆ
หลังๆมาหนูก็ไม่อาย
แล้วประสบการณ์ในโรงเรียนอะไร
ที่ทำให้พั้นคิดว่ามันไกล้เคียงกับเจมส์อีสแบ็ก
**ก็เจมส์เขามีความกลัวในการร้องเพลง
เพราะเขาไปร้องเพลงแล้วเหมือนว่ามันมีเอฟเฟคกลับมา
สังคมมันไม่อะไรหรอก มันไม่ชอบเห็นคนทำสิ่งที่คิดว่าน่าอาย
เจมส์กลับมาจากเมกาเจมส์ตั้งคำถามว่า
ถ้าคุณไม่กล้าทำในสิ่งที่คุณไม่กล้าทำ แล้วคุณจะรู้ได้ยังไงว่าสิ่งนั้นคุณจะไม่ชอบมันจริงๆ
เจมส์กลับมา เจมส์ไม่สนแล้วว่าคนอื่นจะมองเจมส์ว่ายังไง
จะตัดสินเจมส์ยังไง เจมส์กลับมาเจมส์ไม่สนแล้วอะ
ผมกลับมาผมบอกว่าผมจะขึ้นไปร้องเพลง ทั้งๆทีเจมส์ไม่รู้ว่าเจมส์จะร้องเพลงอะไร
มันไม่มีคนแบบนี้ในปี2023หรอก
แต่เจมส์มันอึดอัดมากเลย วันนั้นมันเป็นวันที่มีการประกวดร้องเพลงที่โรงเรียน แล้วเจมส์ก็เคยเห็นคนประกวดที่เป็นไอดอล มันก็เลยไปสมัครมั่ง
ทุกคนวันนั้นคนที่สมัครก็แต่งตัวมาเต็มเลย
มี backing track แต่งตัวแบบประกวดเวทีอะ
เจมส์ไปแบบหน้ามึนใส่ชุดนักเรียน
แล้วเพลงก็ยังไม่ได้ซ้อม ไม่มีอะไรเลย แล้วก็ขึ้นไปร้องเพลงแบบอยู่ๆก็ร้องเพลง ตอนนี้ไม่กล้านะ
แล้วพี่ร้องอยู่หน้าเวที แล้วทุกคนก็แบบ เชี่ยอะไรวะ
คือตอนนั้นมันไม่ได้มองว่าร้องเสียงดี
เขามองว่ามึงประหลาด
คนอื่นเขามีbacking trackกันหมดเลยมึงไม่มี
อะไรของมึงแล้วเพื่อนที่ไปด้วยกันอะ
คือเขาอายจนก้มหน้า และในขณะที่ก้มหน้า
อ.บางคนก็จะอายแทนเรา
แล้วเพื่อนก็โกรธเราไปเลยว่า
มึงพากูมาดูความอับอายนี้ทำไมวะ
พี่บอกว่า เห้ย คนที่ควรอายคือกูป่าววะ
แล้วกูทนได้มึงมาอายแทนกูทำไม
นี่คือเจมส์ที่กลับมา ทีนี้เราโยงเรื่องนี้กับสิ่งที่ตัวเองเจอ?
***คือหนูเนี่ยกำลังจะจัดวงดนตรีแล้วหนูก็ร้องเล่นๆ แล้วเพื่อนที่เป็นหัวหน้าวง ก็บอกว่าพั้นได้นะ
มึงไปร้องคู่กับเพื่อนคนนี้ไหม ที่เขาเป็นนักร้องอาชีพ
แบบคู่กันเลย หนูก็บอกว่าได้หมด
แล้วพอวันจริงเขามาบอกเพื่อนในห้องว่าจะให้พั้นขึ้นนะ
แล้วหนูก็ได้ยินทันทีเลย
ว่าทำไมต้องเอาไอ้พั้นขึ้นวะ
หนูไม่รู้ว่าเขาคิดยังไง แต่จะทำเพื่อให้คนที่ร้องเพราะ
อยู่แล้วไปกลบเขารึเปล่า ตอนแรกหนูแบบเดินไปหาเพื่อนที่เป็นหัวหน้าวงเลย
แกเราไม่ขึ้นแล้วได้ไหม
เพราะมันเสียความมั่นใจแล้ว แต่ตอนนั้นเพื่อนหัวหน้าวงก็บอกหนูว่า เออไม่เป็นไรทำไปเหอะ
เรารู้สึกว่า แค่คำพูดใครซักคน ก็ทำให้เราหมดความมั่นใจหมดแล้ว แล้วเจมส์ที่กลับมา
มันเกลียดตัวเองแบบนั้นมากเลย
แล้วเจมก็เปลี่ยนตัวเองโดยการที่มึงจะพูดอะไรก็เรื่องของมึงเหอะ
ไม่เกี่ยวกับกู เดี่ยวกูจะทำเอง วันนั้นก็เป็นหนึ่งในวันที่เจมส์เหมือนได้เรียนรู้อะไรบางอย่างว่า สุดท้ายเขาออกไปนำเสนอตัวเองก็จริงนะ แต่เขาไม่ได้ศูนย์เสียอะไร
ขณะเดียวกันเขาได้เรียนรู้มากขึ้นด้วยว่า สิ่งที่ทำให้หลายๆอย่างมันยาก มันคือสังคมรอบตัวแล้วพอเราเห็นทุกคนเราก็รู้สึกว่าไอ้รีแอ็กนี้มันเป็นรีแอ็กธรรมชาติ
แล้วเจมส์ก็โอเคเข้าใจละ
ต่อจากนี้ก็ไม่น่าจะมีอะไรยากกว่านี้แล้ว
**ก็ถ้าพี่เจมส์ได้มีโอกาสกลับไปบอกตัวเอง ในวัย18ในวันนั้นในวันที่กล้าชนกับทุกอย่างพี่ในวัย35อยากจะบอกอะไรกับเจมส์ในวัย18บ้างค่ะ
ชนมากกว่านั้นได้ไหม(ฮาๆ)
คือจริงๆตามที่พั้นอ่านมาสรุปมารอบนึงว่า
เจมส์เนี่ยไม่ได้กล้าโดยธรรมชาติ
แต่เจมส์กลัวที่จะศูนย์เสียความกล้า มาจากการฝึกฝนจากการไปอเมริกาแล้วนี้คือสิ่งที่เขาโหยหามาตลอดชีวิต
เพื่อที่เขาก็จะได้ไปทำสิ่งที่อยากทำ เพราะสังคมมันแข็งแกร่งเกินกว่าที่เราจะเป็นตัวเองขึ้นมาได้
ที่นี้โจทย์ของเจมส์ในชีวิตคือเจมส์จะทำยังไงให้เจมส์มีความกล้า เพื่อที่จะได้นำเสมอสารข้อมูลของเจมส์
เจมส์คิดได้ตั้งแต่อายุ 18 พี่ในวัย35ก็ต้องบอกว่าเป็นผลผลิตของเจมส์ในวัย18 ที่อาจจะรู้จังหวะมากขึ้น
เจมส์อายุ18จะอยากพูดไรก็พูดเลย แต่ว่าพอเราผ่านเรื่องราวแบบนั้นมา
สังคม ถ้าไม่ตบเราลงอะ ซึ่งพี่ไม่ยอมให้ตบ
เราจะได้เรียนรู้ว่าจริงๆแล้วมันมีวิธีแฮกสังคมอยู่
พี่ใช้คำว่าแฮกเพราะว่าสุดท้าย เรารู้ว่าสังคมต้องการอะไรในปัจจุบัน เรายังสามารถเป็นตัวเอง
ที่ยังเป็นตัวเองแบบอย่างนี้
ทำอะไรก็ได้ แต่ว่าสังคมก็ยังยอมรับเราอยู่ เพราะเราเข้าใจจังหวะอะไรบางอย่าง
นี่คือถ้าไปบอกอะไรเจมส์ในวัย18 ก็จะบอกว่ามึงมาถูกทางแต่คนจะเกลียดมึงไปอีก10ปีนะ
**พี่เจมส์บอกว่าเจมส์อีสแบ็กก็จะมีภาคต่อด้วยเหมือนกันใช่ไหม
ใช่แต่ ก็เอางี้ดีกว่าเรารู้สึกยังไงกับเจมส์อีสแบ็ก
**ก็ที่ทิ้งท้ายไว้ก็คือ ต่อไปก็คือจะเป็นช่วงชีวิตมหาลัยของเขาก็สนใจว่าเจมส์ไปอยู่มหาลัยแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
หรือเขาจะไปเจอเรื่องที่แปลกขึ้น
เจมส์อีสแบ็กวางไว้สามเล่ม จริงๆแล้วเล่มแรกเจมส์อีสแบ็กจะมีคนกลุ่มนึงที่ไม่ชอบเจม เพราะว่าหมั่นไส้
เพราะว่าเลี่ยมมาก
ทีนี้การที่จะตอบเมสเสจทั้งหมดของการเติบโตของเจมส์ได้
พี่คิดว่ามันต้องใช้สามเล่ม
แล้วช่วงมหาลัยมันเป็นช่วงที่เจมส์เข้าใจสังคมมากขึ้น
มันทำให้เจมส์เข้าใจว่าจริงๆแล้ว เรายังต้องเรียนรู้อะไรอีกเยอะจากสังคม
อย่างวัยเราก็จะมีคนออกมาพูดเพื่ออะไรบางอย่าง
แล้วหลายอย่างจะเป็นการพุ่งชน แล้วเราก็จะเห็นว่า
หลังจากที่หลายคนทำมา การพุ่งชนไม่ได้เปลี่ยนแปลงภาพรวมแต่ว่าในมุมมองของพี่
พี่คิดว่าสิ่งนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว ในตัวเขา
เขาเริ่มรู้ว่าการพุ่งชนมันเหนื่อยเกินไปและอยู่ได้ไม่นาน เจมส์ก็เหมือนกัน หลังจากพุ่งชนไปแล้ว ภาคต่อมาเจมส์ก็เรียนรู้ที่จะหาวิธีอื่น ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอยู่ดี
คือเป้าหมายเหมือนเดิมนะ ยังอยากเปลี่ยนสังคมอยากเปลี่ยนระบบการศึกษาอยากเปลี่ยนทุกอย่าง แล้วเจมส์ก็เลยเปลี่ยนวิธีการว่าเจมส์จะแทรกซึมตัวเองและวิธีคิดเหล่านี้ไปในสังคมมากขึ้นได้ยังไง และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสิบปีที่แล้ว
พี่รู้ว่ามันสำเร็จตอนไหนรู้ไหม ก็ตอนนี้ไง ก้าวไกล อนาคตใหม่เอางี้ ตอนนี้ทั้งสังคมตั้งคำถามเหมือนเราละ แต่มันไม่จบแค่นี้
พอตั้งคำถามได้แล้ว คุณจะเจอกำแพง แล้วคุณจะหาวิธีอื่นที่จะทำมาเพื่อสิ่งนี้
ถ้าคุณไม่แพ้ระบบทุนนิยมซะก่อน
เล่มนี้ชื่อว่าJame is back
เล่มสองชื่อว่า Jame was here
เล่มนี้มันพูดถึงการที่เรา ก็แค่เป็นหนึ่งคนที่เคยผ่านมา
สถาณที่นี้ คนที่ทำงานหลายๆคนที่นี้ เคยทำวีรกรรมหลายๆอย่างที่ มช. ทั้งนั้น
ฉะนั้นJame was here มันพูดถึงว่า
เห้ยที่นี้มันคือสถาณที่ที่ทำให้เราเติบโตนะ ถ้ามีอะไรทุกอย่างที่สงสัย เราควรตั้งคำถามตอนนี้เพราะว่าต่อจากนี้ไป คุณจะเข้าไปสู่โลกทุนนิยมแล้ว โลกจริงๆที่ไม่มีการสอบแล้ว
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับมันตอบโจทย์ชีวิตคุณไหม มันจะไม่ได้มีแค่ปัญหาทางการเงิน มันจะมีปัญหาทางความสัมพันธ์
ซึมเศร้า ทุกอย่าง
หลังจากนั้นที่เรียนจบไป มันเหมือนลูฟี่ออกทะเลอะ คุณจะไปตามหาเป้าหมายอะไร มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครตั้งโจทย์ให้คุณแล้ว มันขึ้นอยู่กับคุณเองที่ตั้งโจทย์ให้ตัวเอง
ทีนี้ Jame was here ก็มีโจทย์เหมือนกัน
ขณะที่ jame is gone มันคือออกไปเลย
การที่คุณทิ้งตัวตนตัวเองไว้แล้ว แล้วไม่มีอีโก้อีกต่อไป
เพราะหลายๆปัญหาไม่สามารถแก้ได้ด้วยอีโก้
คือคีย์ของตอนนี้อาจจะยาก
แต่ว่าถ้าเล่มนั้นออก มันจะชัดขึ้น
*** jame was here จะมาเมื่อไหร่ค่ะ
ไม่ใช่สิบปีอะ จริงๆชี้ดาบมีหนังสือที่ค้างมาสิบปีอยู่
ชื่อว่า หลงจริงเวียดนาม
เป็นเรื่องราวของพี่ที่พยายามพิสูจน์ความเป็นพี่ชายที่แท้จริง โดยพาน้องชายที่อายุห่างกันสองปี
ไปเที่ยวเวียดนามโดยไม่วางแผนอะไรเลย
แล้วมันคือทริปแห่งหายนะ คือเราอ่านก็เห็นปมของตัวละครระหว่างพี่กับน้องแต่ในเรื่อง(jame was here)
แต่มันไม่ได้แก้ปมเรื่องพี่น้อง
แต่มันจะไปแก้ปมนี้ในเรื่อง หลงจริงเวียดนาม
คือวิธีเขียนแบบชี้ดาบเนี่ย มันคือวิธีเขียนแบบเอาเรื่องจริงมาเรียงเป็น ฟิกชั่น เอาเรื่องจริงมาเรียงเป็นพล็อดให้มันอ่านง่าย แต่ว่า ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริงทั้งหมด
ทีนี้ มันก็จะเป็นหนังสือที่สะท้อนความเป็นจริงด้วย สะท้อนสังคมด้วย และเป็นหนังสือที่อ่านง่ายด้วย ครับ
***สำหรับตอนนี้พี่เจมส์ก็มีหนังสือมาแจกด้วยใช่ไหมค่ะ
แต่ว่าเรามีคำถามนึงที่ คุยกับพี่ในบรีพเกี่ยวกับเจมส์อีสแบ็ก
ที่พี่อยากให้เราถามบนเวที
***ในเรื่องเจมส์อีสแบ็กมันจะมีตัวละครที่อยากให้เล่าก็คือแชมป์ เดือนโรงเรียนของเรา
ก็คือในเรื่องเจมส์อีสแบ็กก็จะมีตัวละครที่ ถ้าคุณดูหนังก็จะมีคนที่ได้รับความนิยม คือเล่มนี้ก็จะเห็นชนชั้นของสำนักพิมพ์คนที่ป็อบที่สุดก็อาจเป็นเดือน
ซึ่งเจมส์อยู่นอกสายตาทุกคน เป็นเด็กมีปัญหาคนนึงแชมป์เป็นเด็กมีปัญหาคนหนึ่ง ที่เป็นเพื่อนสนิตของพี่
มีตัวตนจริงแล้วก็มีคุณหนึ่งในเรื่องมันจะมีนางเอกคนนึงที่ชื่อหนึ่ง เป็นตัวละครสำคัญมีตัวตนจริง เขาหายไปจากชีวิตพี่หลายปีตั้งแต่เจมส์อีสแบ็กเราไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย และเราก็รู้ว่าเขามีชีวิตที่ดีแล้วอยู่เชียงใหม่ทำงานโรงพยาบาล
**เพราะว่าในหนังสือมีหลายคำถามที่ไม่ได้ถามคุณหนึ่งที่รอเฉลย คือสิ่งที่เขาบอกพี่เจมส์ในวันปัจฉิม
เราพูดไม่ได้ฮะ เดี่ยวสปอยเนื้อเรื่อง ก็สิ่งนั้นมันเฉลยในชีวิตนะ เพราะชี้ดาบเป็นหนังสือที่เชื่อมโยงกันทุกเล่ม
มี16 เล่มนะ มันจะเชื่อมโยงกันเป็นการเติบโตไปเรื่อยๆ
คำถามบางอย่างที่วางไว้ เป็นเล่มบางเล่มเนี่ยก็จะถูกตอบไปในหนังสือบางเล่มก็มี ซึ่งเรื่องราวนี้ก็เฉลยแล้วในเล่มอื่น ก็ตามอ่านได้ คิดว่าน่าจะเฉลยในเรื่อง13yearafter กับ0ปีอเมริกา
เพราะเจมส์โตมาในวัยโตมากๆแล้ว
พี่คิดว่าถึงช่วงที่ให้คนดูถาม มีใครสนใจไหม คำถามแรก
//อยากถามว่าถ้าพี่ได้เป็นนายกพี่จะทำอะไรครับ
เอาแบบเพ้อฝันคือความจริง ถ้าแบบเพ้อฝันนะเราก็จะบอกว่ามันไม่ง่ายเลย สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยหลักๆที่ทำให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้คือ ภาษาเรามีปัญหา เรามีความไม่ชัดเจนในภาษาในหลายๆเรื่อง คำพูดคำพูดนึงสามารถแปลงได้หลายอย่าง
จริงๆแล้วไม่ได้เป็นนายก ก็ทำอยู่แล้วนะ
พี่มีคำถามเกี่ยวกับระบบการอ่านของภาษาไทย
ถ้าเรียนภาษามา
เราจะสงสัยว่าทำไมภาษาอังกฤษมีจุดมีคอมม่า
นี่คือหัวใจของการอ่าน เพราะถ้าไม่มีเราจะอ่านไม่รู้เรื่อง ประเทศไทยไม่มีการสอนการอ่านแบบนี้เลย การที่คุณอ่านหนังสือได้ คือความสามารถพิเศษของคุณนะ
คุณทำได้เพราะคุณพิเศษ เพราะพี่อ่านภาษาไทยแบบยาวๆไม่ได้ คุณสังเกตชี้ดาบได้เคาะประโยคบ่อยมาก เพราะพี่อ่านภาษาติดกันไม่ได้ เพราะมันคือการจับใจความอย่างหนึ่ง
อันนี้ไม่ได้หมายถึงการเป็นนายก แต่หมายความว่าพี่กำลังทำสิ่งนี้อยู่ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีจุดในระบบภาษานะ
แต่การไม่มีสิ่งนี้สร้างปัญหามากจริงๆ
คุณไปดูเลยไม่มีภาษาไหนที่ไม่มี ไปดูได้ พม่าก็มีจุดมีระบบคอมม่า ทุกภาษาเลยยกเว้นไทย
คุณไม่เคยตั้งคำถามใช่ไหมวันนี้จะเริ่มตั้งถาม
แล้วสิ่งนี้ส่งผลแค่ไหน มันส่งผลทุกรูปแบบในประเทศนี้
เรามีความสับสนในการสื่อสารกันในทุกระดับชั้น
จดหมายราชการคุณอ่านรู้เรื่องผมตบมือให้ ผมว่าน้อยคนที่อ่านรู้เรื่อง คุณถามแม่ผมได้ แม่ผมอยู่ในระบบราชการแล้วภาษาที่มันถูกส่งมาด้านบน ลงมาไม่ถึงด้านล่างอย่างครบถ้วน ประเทศนี้มันก็ต้องบิดอยู่แล้ว มันไม่สามารถชัดเจนขนาดนั้นได้ ทีนี้โปรเจคนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นนายกที่ทำได้เพราะนายกก็ทำไม่ได้เหมือนกัน พี่ว่าการเป็นนายกทำอะไรไม่ได้เลย
คือนายกทำหน้าที่เป็นเบื่องหน้าให้กับเลขาธิการอีกทีนึงพรรคทุกอย่างก็จะกำหนดบทบาทว่าจะให้พูดอะไร
แต่สุดท้ายในระบบประชาธิปไตยเนี่ยผู้นำไม่ได้เหมือนเผด็จการนะ เราก็ต้องทำตามวาระสภา ฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือสนับสนุนภาพรวม หรือการเล่นการเมืองในสภาให้มันเซ็กซี่ให้มันเกิดอะไรก็ตามที่น่าสนใจ
เพราะจริงๆแล้วประชาธิปไตยเกิดจากข้างล่าง
ข้างบนอะมันเป็นแค่คนที่คนเข้าใจว่ามันจะเปลี่ยนได้ แต่ประชาธิปไตยคือสิ่งที่ เมื่อคนส่วนมากไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนักการเมืองในประเทศ
เลยเล่นวิธีโดยการปั่นกันในสภา เขาไม่ต้องมาเล่นกับคนข้างล่าง เขาเล่นกับสส.นี่เป็นเหตุผล
เมื่อคุณเข้าใจโครงสร้างนี้คุณจะเล่นการเมืองประเทศนี้ได้ ฉะนั้น
พี่ทำอะไรไม่ได้ถ้าพี่เป็นนายก แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาพี่ทำได้มากกว่า
///ก่อนที่จะมาเป็นนักเขียนเคยอยากเป็นอะไรมาก่อนไหมค่ะ
พี่ต้องถามกลับก่อนว่า ทำไมถึงถามคำถามนี้ครับ
เพราะพี่ดูเป็นอย่างอื่นได้หรอ
//หนูแค่รู้สึกว่าคนเรา อาจจะเคยมาความฝันมากกว่าหนึ่งอย่าง ก่อนที่จะมาถึงสิ่งที่เราทำตอนนี้
ครับและเนื้อหานั้นอยู่ในjameisback
แต่จริงๆพี่อยากเป็นสถาปนิก พี่อยากเป็นคนสร้างบ้าน เพราะว่าพี่มีปัญหากับระบบการศึกษาไทย
หลักๆคือ พี่ไม่เคยรู้เลยว่าตัวเองชอบอะไร แล้วพี่คิดว่าทุกๆคนในระบบการศึกษานี้มีคำถามเดียวกัน คือในโรงเรียนอเมริกันมันจะมีวิชาให้เราได้ทดลองสิ่งที่จะไม่ชอบ
งงไหม
เพราะประเทศไทยไม่มีคำพูดนี้นะ
หมายความว่าคุณสามารถที่จะทดลองได้ คุณไม่ชอบคุณก็เปลี่ยนได้ ประเทศไทยไม่มี
คุณต้องอยู่กับสิ่งที่คุณไม่ชอบ แล้วก็เลือกไม่ได้
แล้วคุณก็ไม่รู้ว่าชอบอะไร
คุณจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อคุณทำกิจกรรมของคุณเอง
ว่าคุณจะชอบรึเปล่า ใช่ไหม ทีนี้เจมส์ตอนเด็กๆก็รู้ว่าเขาชอบเกมส์สร้างบ้านนะ ชอบเล่นเดอะsim
แล้วเจมส์ก็ชอบจัดห้องแล้วเจมส์ก็ชอบวาดรูปมากเลย
เจมส์เลยเข้าใจว่าสิ่งที่เราเป็นได้คือสถาปนิกรึเปล่า
แต่แท้จริงแล้วชีวิตเรามันมีมิติมากกว่านั้น การที่พี่มาอยู่ตรงนี้พี่รู้สึกว่าจริงๆแล้วนี่คืออาชีพที่เราอยากเป็นที่สุด
แล้วชี้ดาบไม่ใช่แค่นักเขียนแค่เป็นสำนักพิมพ์ด้วย พี่ต้องทำธุรกิจไปด้วย ทำยังไงให้ศิลปะของเราสามารถขายได้ในระบบทุนนิยม อันนี้คือสิ่งที่เราแก้โจทย์มา ฉะนั้นเนี่ยเวลานี้มันเกิดจากการที่เราลองว่าเราไม่ชอบอะไรก่อนที่เราเฟลจากระบบการศึกษาไทย เพราะระบบการศึกษาไม่สามารถทำให้เราเป็นได้
ก่อนหน้านั้นเราก็ไปเป็นช่างภาพแล้วพี่ก็พบว่าเห้ย
เราไม่ได้ชอบ คือเราทำเพื่อให้เรารู้ว่าเราไม่ชอบ
จนถึงวันนึงก่อนที่จะมาเป็นนักเขียนเราบอกกับตัวเองว่า
เราจะไม่พลาดแล้ว เราจะเลิกถ่ายภาพ เพราะว่ามันไม่ตอบหลายๆอย่างที่ทำ
จริงๆสิ่งที่ทำให้เรารู้คือสิ่งที่เราถามตัวเองมาตลอดว่า
เรารู้สึกว่าเรามีคุณค่ากับอะไรมากว่า แล้วการเขียนหนังสือเนี่ยมันทำให้เรารู้สึกแบบนั้นมากที่สุด มันอาจจะมีบางอย่างที่ดีกว่านี้ก็ได้ นอกจากเป็นนักเขียน เจมส์อาจจะเป็นนักพูดได้ แต่ว่านักพูดมันไม่รู้ว่าจะหาเงินยังไง พอหนังสือเนี่ย
คนสนับสนุนคุณเป็นเล่มๆ มันก็สนับสนุนคุณได้ในทางทุนนิยม
นี่คือคำตอบของพี่
///ทุกวันนี้พี่เจมส์ยังเขียนไดอารี่อยู่รึเปล่าครับ
นี่คือหัวใจที่สำคัญที่สุด เพราะว่าผมไม่เคยหยุดเขียนไดอารี่เลยตั้งแต่วัย17ปี แล้วคนที่ทำให้พี่เขียนไดอารี่คือแม่พี่
ตอนนั้น ทุกคนไปต่างประเทศคนส่วนใหญ่ยื่นอะไร เงิน
บ้านพี่ไม่มี ยื่นสมุดให้หนึ่งเล่ม พี่ก็แบบ เอามาให้ทำไมวะ
แต่ว่าเราก็พบว่าพอเราไม่มีคนให้คุยด้วย
ยุคนั้นไม่มีโซเชี่ยวเน็ตเวิร็ก คนที่เราคุยได้คือตัวเองเท่านั้น
ตั้งแต่อยู่บนเครื่องบินเราก็บ่นทุกอย่าง เพราะเราไม่สามารถคุยกับใครได้เลย จนเวลามันผ่านไปเราก็เขียนมาเรื่อยๆ
จนวัย30 เราพบว่า
นี่คือสิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำในชีวิตนี้เลย
เพราะว่า แม่พี่อาจจะรู้อยู่แล้วว่าการที่เขียนอะไรมา
มันคือการแก้ปัญหาไปแล้วครึ่งนึง เพราะอย่างน้อยคุณเรียบเรียงได้ไงว่าปัญหาคุณคืออะไร แล้วมันเป็นเรื่องของอารมณ์ด้วย พี่มีหนังสือชื่อ0ปีอเมริกา มันคือหนังสือที่พูดถึงตัวละครตัวนึงเติบโตเปลี่ยน จากตัวอื่นได้โดยการเขียนไดอารี่ เพราะมันคล้ายๆกับการสะท้อนตัวตนเวลาอยู่หน้ากล้อง แต่มันลึกกว่านั้นเพราะเวลาเราเขียนจากความรู้สึกจริงๆ
มันออกมาจากความรู้สึกข้างใน แล้วเราเขียนออกมาแบบไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาอ่าน เพราะหลักการของมันก็คือเราไม่ต้องการให้ใครอ่าน ฉะนั้นคนส่วนใหญ่มีปัญหากับการพูดความจริง
ฉะนั้นมันไม่มีพื้นที่ มีที่เดียวเท่านั้นคือไดอารี่ เมื่อคุณเขียนไดอารี่คุณจะรู้จักตัวเอง แบบที่เป็นตัวเองจริงๆคุณเสียใจยังไงคุณเหี้ยยังไง คุณเขียนมันออกมาแล้วสิ่งนั้นมันจะทำให้คุณยอมรับตัวเองได้มากขึ้น
แล้วเจมส์ทำสิ่งนั้นมานานจนลืมไปแล้วว่าสิ่งนั้นแหละที่เปลี่ยนเจมส์ การเขียนไดอารี่ทุกๆช่วงวัย มันทำให้เราเห็นตัวเองได้เสมอ แล้วรู้ว่าตัวเองกำลังเจอกับปัญหาอะไร
แล้วพอเราเขียนไปซักพักนึงเราเห็นปัญหานั้นชัดขึ้นและเราจะเห็นทางออก เราจะเห็นเส้นทางที่ไปต่อได้ และนี้คือความมหัศจรรย์ของไดอารี่
ชี้ดาบมีบุ๊กเทนเดอร์นะ แล้วหลักการเหมือนกันเลยคือคุณไม่มีคนที่ฟังคุณ คุณก็เลยต้องการใครซักคนที่จะฟังเรา
เลยมีนักจิตวิทยาไง นักจิตวิทยาไม่ทำไรเลย
ฟังคุณอย่างเดียว ถ้าถามว่าพี่ยังเขียนอยู่ไหม
พี่ยังเขียนอยู่ทุกวัน และเราไม่ได้เขียนทุกวัน
เราเขียนในวันที่เรารู้สึก
ถ้าเกิดว่าคุณใช้ชีวิตจริงๆอะ คุณก็รู้สึกว่าจะใช้ชีวิตบ่อยๆ
นั่นแหละครับคือคำตอบของพี่
//พี่เจมส์มีอะไรแนะนำให้กับการค้นหาตัวเองไหมครับ
ต้องถามว่าค้นหาตัวเองยังไง เราเจอปัญหายังไง เล่าให้พี่ฟังหน่อย
//เหมือนว่าไม่รู้ว่าตอนนี้เราเรียนทำไม
เดี่ยวก่อนคุณอยู่คณะอะไรครับ
//มนุษยศาสตร์เอกอังกฤษครับ
คุณเข้าคณะนี้ได้ยังไง
//ผมยื่นแล้วมันก็ติด
แค่นั้นเลยหรอ แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าเราจะไปยังไงต่อ?
//ใช่ครับ
เราไม่รู้ว่าจะเราสิ่งที่เรียนไปทำอะไรถูกไหมครับ
//เหมือนว่าเราไม่ชอบอะไรด้วย แล้วเราไม่รู้ว่าจะเอาสิ่งที่เราเรียนไปทำอะไร
โอเคพี่มีคำแนะนำเพราะว่าพี่จบ ศิลปะศาสตร์เอกอังกฤษ
แล้วพี่รู้สึกดีใจที่พี่ได้เรียนสิ่งนี้ เพราะสุดท้ายแล้วคุณจะได้ใช้ภาษาอยู่ดี
แล้วคือถ้าเราอยู่ในโลกมนุษย์เนี่ยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ภาษา ไดอารี่ก็เกี่ยวกับภาษา ทุกอย่างเกี่ยวกับภาษาทั้งหมด
ฉะนั้นเนี่ย สิ่งหนึ่งที่คุณต้องรู้ว่าสิ่งที่คุณกำลังเรียนเนี่ย
มันได้ใช้ แต่คุณจะไม่ได้ใช้อะไรเลยถ้าเกิดว่า คุณไม่รู้ว่าคุณต้องการอะไรจากชีวิต แล้วสิ่งที่คุณต้องการกับชีวิตเนี่ย
เกิดขึ้นไม่ได้จากการที่คุณนั่งเรียนเฉยๆ เพราะระบบการศึกษาที่นี้ไม่ได้ออกแบบมาให้คุณรู้ว่าไม่ชอบอะไร
สิ่งนี้ตอบกับคำถามเราเลยว่าพี่เข้ามหาลัยแล้วพี่เฟลจากการไม่ได้เข้าสถาปัต มช.
พี่ไปทำอะไร พี่คิดว่าสิ่งที่ทำให้พี่รู้ได้มากขึ้น คือการที่พี่ต้องไปทำในสิ่งที่ไม่ชอบสิ่งนั้น เหมือนว่าเราไปทำทุกอย่างเลย
ทำอะไรที่เราไม่เคยทำ พี่ทำมาหมดแล้ว เพราะพี่ไม่เชื่อว่าจะได้อะไรจากการนั่งเรียนเฉยๆ
พี่คิดว่าทุกอย่างที่เรารู้จากมันคือการทำอะไรที่ไม่เหมือนกัน ทำเพื่อให้รู้ว่าเราไม่ชอบสิ่งนั้นจริงๆหรอ และคิดต่อว่าอะไรคือสิ่งที่เราไม่เกลียด
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่สบายใจที่จะไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แต่ว่าในการเติบโตจริงๆแล้วมันเป็นอย่างงั้นไม่ได้
พี่พาตัวเองอยู่ในจุดที่ตัวเองไม่สบายใจ
เพื่อเข้าใจความรู้สึกของตัวเองด้วยว่า เห้ยที่เราไม่ชอบสิ่งนี้เพราะอะไรวะ ไม่ชอบคนหรอ ไม่ชอบงาน หรืออะไร
เราต้องตอบสิ่งนั้นให้ได้ และหาให้ได้ว่าตัวเองไม่เกลียดอะไรบ้าง ถ้าเราตอบสิ่งนี้ไม่ได้เราก็จะหลงทางอยู่ตลอด แต่ที่แน่นอนคุณเรียนอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าคุณอยากจะเข้าใจตัวเอง
การเรียนอย่างเดียวไม่ทำให้คุณเข้าใจตัวเอง คุณต้องไปทำเท่านั้น และคุณควรเป็นคนที่ควรได้อ่านเล่มjameisback
ที่สุดแล้วคุณจะเข้าใจ
//พี่มีคำแนะนำกับนักเขียนรุ่นใหม่ในโลกทุนนิยมไหมครับ
แน่ใจหรอ(หัวเราะ)
//ทำยังไงให้อยู่รอดในโลกทุนนิยมครับ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พี่ตอบคำถามนี้ เอางี้ดีกว่าถ้าคุณอยากเป็นนักเขียนจริงๆ คุณไม่ต้องสนใจโลกทุนนิยมหรอก บอกตรงๆนะตอนที่ผมทำใหม่ๆมันก็ยากอยู่
แล้วมันเป็นยุคที่คนรุ่นนี้ทุกคนไปเป็นยูทูปเบอร์ครับ
แล้วงานแรกที่ผมทำไม่ใช่งานเขียน คือร้องเพลงกับยูทูปเบอร์คุณไปหาได้ผมทำรายการท่องเที่ยวที่เจ๋งมากในยุคนั้น
คุณสามารถไปดูได้เลยถ้าเกิดว่าชี้ดาบทำต่ออะ รายการนั้นก็อาจจะดังก็ได้ แต่ว่าเราไม่ได้ทำเพราะเราคิดว่าการเขียนหนังสือน่าจะพาเรามาได้ไกลกว่า
ทีนี้เนี่ยตอนนั้นเนี่ยไม่ได้คิดถึงเรื่องทุนขนาดนั้น แต่คิดแค่ว่าเห้ยการทีเราจะเป็นนักเขียนอยู่ได้มันมีตรรกะอยู่สองสามอย่าง
คือคุณต้องมีแฟนหนังสือ แล้วแฟนหนังสืออยู่ได้ยังไง
ก็ต้องเกิดจากการที่คนเห็นงานของคุณเยอะๆใช่ไหมแล้วในยุคนั้นเมื่อประมาณ10ปีที่แล้วเฟสบุ๊คมันดัง
โจทย์ของพี่คือการที่ ตอนนั้นทุกคนจะเป็นนักเขียนได้คือต้องส่งสำนักพิมพ์แล้วหนังสือก็จะไปอยู่ที่ร้านหนังสือแล้วทุกคนก็จะเริ่มอ่านที่ร้านหนังสือ แต่ว่าตอนนั้นเราเป็นนักเขียนหน้าใหม่เราไม่มีสำนักพิมพ์ยอมรับหนังสือเราเลย
เราคิดว่าเองงี้ แล้วกันเราโพสต์ให้คนอ่านแล้วกัน
แล้วเราเชื่อว่ามันจะดี ตอนนั้นคือเรื่อง1ปีอเมริกา เราโพสต์ให้อ่านฟรีในเฟสบุ๊ค แทนที่จะให้อ่านเฉยๆเราบูสโพสต์ให้คนมาอ่านฟรีด้วย แล้วมันเป็นยุคแรกของการขายหนังสือบนออนไลน์แล้วปรากฎว่า เล่มนั้นมันมีคนกดแชร์ไปประมาณแสนแชร์
เมื่อสิบปีที่แล้ว ทีนี้ถ้าคุณอยู่ในยุคนี้ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากเป็นขนาดไหน แล้วคุณอยากทำเป็นอาชีพหรือแค่เครื่องจรรโลงใจของคุณ
อันนี้คุณต้องตอบให้ได้นะ เพราะว่าการที่คุณจะตอบคำถามหรือความรู้สึกของการเป็นนักเขียนเนี่ย มันไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำมันทุกวัน บางคนก็ทำมันเป็นงานอดิเรกแล้วทำคู่กับงานอื่น เพราะว่าคุณต้องเข้าใจว่าเราอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาไทยซึ่งมีประชากรแค่60ล้านคน
แล้วคนที่อ่านภาษาไทยมีที่อ่านรู้เรื่องมีกี่คน
คุณต้องคำนวณสิ่งนี้
นี้คือโลกแห่งความจริง ซึ่งคุณไม่ต้องเครียดถึงขนาดพยายามเป็นนักเขียนขนาดนั้นก็ได้ แต่ให้คุณมีอาชีพอื่นอันนี้ถ้าคุณอยากเขียนมันแค่จรรโลงใจนะแต่ถ้าเกิดว่า คุณอยากเป็นนักเขียนอย่างเดียว คุณจะไม่ถามคำถามนี้เลย เพราะคุณจะไม่สนใจอะไรทั้งนั้น
ไม่ว่าคุณจะไม่เหลืออะไรคุณก็จะเขียนต่อไปและคุณจะไม่ตั้งคำถามของทุนนิยม แต่ตอนนี้ก็ต้องกินข้าวไง
พอทำได้ไปซักพักก็จะรู้นะ ว่ากูต้องกินข้าวนะ
เราไม่สามารถเด็ดหญ้ากินแล้วอิ่ม
ฉะนั้นถ้าให้พี่แนะนำกับนักเขียนที่ไม่ได้ตั้งใจจะเป็นนักเขียนแบบเห้ยกูต้องดังแบบชิบหาย คุณทำงานอื่นไม่ได้เพราะว่างานเขียนเอาจริงๆแล้วอะถ้าคุณเขียนจริงๆ คุณใช้เวลาแค่2-3ชั่วโมงในตอนเช้าติดต่อกันเป็นหลักเดือน สองเดือนก็เสร็จแล้วคุณไม่ได้ใช้เวลาทั้งชีวิต
คุณจะใช้เวลาทั้งชีวิตถ้าคุณตั้งไม่ได้ตั้งเป้า แล้วก็ไม่รู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่
ครับ
หนังสือ "1 ปี กับชีวิตที่ผมอยู่ในอเมริกา ซีซัน 1"
หนังสือ "1 ปี กับชีวิตที่ผมอยู่ในอเมริกา ซีซัน 2"
เจม :
สังคมไทยตอนนั้นเนี่ย บอกให้คุณคิดแค่แบบนี้ เท่านั้น
แล้วเจมเนี่ย เป็นตัวละครที่เติบโตในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีความพิเศษในเรืองนี้ซะด้วย
มันเป็นจังหวัดที่ชัดเรื่องนี้ จนมีคำพูดหนึ่งขึ้นมาเลย คือคำว่า "เลี่ยม"
"เลี่ยม" คือคำที่ใช้กันมากในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเขาใช้ในทุกวัน
อย่างพี่ปอเนี่ย ที่เชียงใหม่ ถือว่าเป็นคนเลี่ยมนะ เพราะมั่นใจเกินไป (หัวเราะ) "เลี่ยม" อารมณ์มันเหมือนคุณเป็นเหลี่ยม ที่ทิ่มออกมาจากความเรียบของวงกลมอ่ะ
แล้วเค้าไม่ได้ใช้กันทั่วภาคเหนือนะ คนอาจจะคิดว่าเป็นคำเมืองหรือเปล่า แต่ผมถามมาหมดแล้ว "เลี่ยม" เขาใช้กันเฉพาะที่เชียงใหม่ (หัวเราะ)
คนเชียงใหม่เนี่ยส่วนใหญ่จะไม่ออกไปกรุงเทพ เพราะเราเชื่อว่าเชียงใหม่เนี่ยมีครบอยู่แล้ว แล้วเราจะไม่ชอบคนกรุงเทพเลย เราจะรู้สึกหมั่นไส้ เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราหมั่นไส้เขาทำไม
แต่ว่า ถ้าคุณเป็นคนเชียงใหม่แล้วคุณทำตัวเหมือนคนกรุงเทพอะ คุณคือคนเลี่ยม (หัวเราะ)
เลี่ยม เป็นการบอกลักษณะของคนๆ นั้น
แล้วพอโดนพูดบ่อยๆ คุณจะไม่อยากเลี่ยม คุณจะอยากเป็นคนติ๋ม มันเป็นคำที่ทำให้คุณไม่อยากกล้าแสดงออก เพราะถ้าคุณเป็นผู้ชาย แล้วคุณเลี่ยม คุณอาจโดนต่อยปากแตกได้เลย เพราเขาจะไม่ชอบ เพราะคุณมั่นใจเกินไป เกินมาตรฐานของคนเชียงใหม่
แล้วนี่คือประเด็นของหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้กำลังตั้งคำถามกับสังคม ที่จริงๆ แล้วมีความคิดเชิงว่าหมั่นไส้คนอื่น เพราะว่าคนอื่นทำได้ดี ไม่ว่าจะถูกหรือไม่ถูก แต่ไม่ถูกใจเนี่ย คุณเลี่ยม แล้วคุณก็จะไม่ฟังสิ่งที่เขาพูด
นี่คือคีย์ที่ "James is Back" ต้องการเล่า และไม่ได้แค่เทียบเชียงใหม่
การที่คุณไม่ชอบคนๆ นึง อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะพูดถูกหรือไม่ถูก แต่เขาพูดไม่ถูกใจคุณ แค่นั้น
เจม :
ขอย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของเจม... พอดีเลย ผมขอพูดถึงคนๆ นึง ครูทอมครับ (พี่ทอม คำไทย กำลังเดินผ่านพอดี)
พี่ทอม เขาเคยอยู่จังหวัดเชียงใหม่ และเขาเคยอยู่โรงเรียนมัธยมต้นเดียวกับผมโดยบังเอิญ แต่เป็นรุ่นพี่ 1 ปี แต่ว่าพี่ทอมเนี่ย เป็นนักเรียนชั้นเยี่ยม สมัยเรียนเป็นนักเรียนตัวอย่าง ถูกส่งประกวดตลอดเวลา เป็นนักเรียน top class เรียนเก่ง - คือเราเคยคุยกัน แล้วพบว่าเค้าไม่ได้มีปัญหาแบบผม
แต่ผมเนี่ย ตอนนั้นย้ายมาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรามาจากจังหวัดที่ไม่ค่อยมีความภูมิใจในตัวเองอยู่แล้ว เพราะมันจังหวัดเล็ก แล้วมาอยู่เชียงใหม่
เชียงใหม่ตอนนั้นเนี่ย ทั้งจังหวัด โดยเฉพาะโรงเรียนที่ผมไป เป็นโรงเรียนที่พูดคำเมือง ตอนผมย้ายไปไม่มีใครบอกผมซักคนว่าจังหวัดเชียงใหม่เขาพูดภาษาอะไรกัน
แล้วผมพูดกลาง พูดกลางมาทั้งชีวิต เพราะที่แม่ฮ่องสอนไม่มีใครพูด - คือมันเป็นจังหวัดที่ประชากรอพยพเข้าไปอยู่หลากหลายอ่ะ มีทั้งคนจากนนทบุรี คนไทใหญ่ กะเหรี่ยง คนพูดเมือง คนที่นั่นเลยพูดไทยกลางเพื่อสื่อสารกัน คนแม่ฮ่องสอนพูดสำเนียงกรุงเทพ
ผมไปเชียงใหม่โดยทีผมไม่เข้าใจภาษาคำเมืองเลย แม่งรู้สึกเหมือนอยู่ต่างประเทศมาก
ทีนี้มันเป็นอย่างนี้ วันนั้นเนี่ยมันเป็นช่วงวันแรกที่ไปโรงเรียน แล้วมันต้องมีคนเข้ามาหาผม
เขาถามผมว่า "ข่ะจั๋ยเลาะ"
คือตอนนั้นไอ้คนที่ถามผมเนี่ย มันทำเวรอยู่ ส่วนผมก็กำลังเก็บกระเป๋าอย่างเชื่องช้า ผมก็นึกว่ามันหวังดีเลยเข้ามาถามผม ว่าเรียนที่เรียนอ่ะเข้าใจไหม เพราะไอ้เสียงคำว่า "ข่ะจั๋ยเลาะ" มันคล้ายๆ กับคำว่า "เข้าใจไหม"
"ธีรนัย ข่ะจั๋ยเลาะ"
เราก็คิดว่า มันเป็นห่วงการเรียนเราะแน่เลย นักเรียนใหม่ มาวันแรก
ทีนี้ผมก็มองหน้าเขาแล้วก็ พูดว่า "เข้าใจนะ" แล้วผมก็นั่งเก็บของไปเรื่อยๆ
แล้วมันก็พูดอีกที
"ข่ะจั๋ยเลาะ"...
ปรากฏว่าไอ้เนี่ยมันกำลังทำเวรครับ กำลังถูเลย แล้วไอ้ "ข่ะจั๋ยเลาะ" เนี่ย มันแปลว่า "รีบๆ มึงรีบๆ" ลุกจากตรงนี้ได้ไหม
โอ้โห (หัวเราะ)
แล้วมีวันนึงผมป่วย ภาษาคำเมืองป่วยมันพูดว่า "เม่อย" แต่เราเข้าใจว่า "เม่อย" ก็คือ "เมื่อย"
โอ้โห แล้ววันนั้น กูป่วยหนักมาก ปวดหัว เป็นไข้หวัดใหญ่
"ธีรนัย เม่อยก๋า..."
ผมก็แปลว่า "ธีรนัย นายรู้สึกเมื่อยเหรอ"
เหอะ ไม่ กูไม่ใช่แค่เมื่อย มึงดูหน้าของกู กูป่วยขนาดนี้ กูจะตายอยู่แล้ว กูไม่ใช่แค่เมื่อย มึงช่วยเอากูไปหาหมอเถอะ
(หัวเราะ)
คือเรื่องทั้งหมดนี้ มันทำให้ความมั่นใจทั้งหมดน้อยลงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ
แล้วที่บ้านก็ไม่เคยบอก ว่าผมจะโดนย้ายมา อยู่ๆ ก็โดนย้ายมาเลย ความมั่นใจถูกทำให้ลดลงเยอะมาก จนเราไม่กล้าพูดกับใครเลย
เชื่อไหม ผมเริ่มมามั่นใจในการพูดอีกครั้ง คือตอนย้ายมาอยู่กรุงเทพ ซึ่งก็คือ อายุ 18 แล้ว หลังจากเรื่องนี้แล้วผมเข้าใจว่าอ้อ ที่เราไม่มั่นใจขนาดนั้น เพราะว่าเราอยู่ในจังหวัดที่คนไม่ถนัดกับการพูดภาษาไทย
เราเลยไม่กล้าแสดงออก เพราะว่าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่เราสื่อสารไปอะ คนที่รับฟังเราเข้าใจเราไหม
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) :
ทีนี้หนังสือ "1ปี อเมริกาฯ" มันดังได้ยังไง
เจม :
จริงๆ แล้ว มันดังมาจากความเก็บกดของเจมส์คนนั้นแหละ ที่โดนกดด้วยสังคมเชียงใหม่มาตลอด แต่เจมในเล่มนั้นยังไม่รู้ว่าเพราะอะไร เลยระเบิดที่อเมริกา ไปโวยวาย ด่ากราดทุกอย่างในอีเฟรต้า
มันเป็นหนังสือ non-pc นะ คือ ไม่มีการกรองให้กับผู้อ่าน หลังๆ มีดราม่าด้วย (หัวเราะ)
"1 ปี อเมริกา" เป็นเรื่องของเด็กคนนั้นไปปลดแอคทุกอย่างที่อเมริกา แล้วก็ทำสิ่งที่คนอื่นไม่ทำกันที่โน้น แม้แต่คนเมกันยังไม่กล้าทำเลย
แล้วจากเหตุการณ์ในหนังสือ "1 ปี อเมริกา" เจมคนนั้นก็เติบโตขึ้น เรียนรู้อะไรบางอย่าง แล้วเขาก็กลับมาประเทศไทย ด้วยพลังไซย่า
ซึ่งก็เป็นที่มาของเล่มนี้ "James is Back"
เป็นเล่มหลังจาก "1 ปี อเมริกาฯ" ที่เจมรู้แล้วว่า สิ่งที่กดเขาไว้คือสังคม เขาเลยตั้งใจจะกลับมาปฎิวัติระบบทุกอย่างที่มันเกิดขึ้น นี่คือเรื่องราวของเล่มนี้
ในเรื่อง เจมคือเด็กอายุ 18 คนนึง ที่ไม่กลัวอะไรอีกแล้ว อะไรมึงก็มาเหอะ กูไม่กลัว เจมกลัวแค่การไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง แค่นั้น
เจมกลัวการไม่ได้แสดงออกอย่างที่ในหัวเขาคิด
แต่ตอนนั้นมัน 17 ปีที่แล้วไง ยุค Gen Y ปรากฏว่าคนที่เป็นเจนเดียวกับเจมก็จะไม่เข้าใจ เพื่อนในห้องจะรู้สึกว่า ไอ้นี่มันทำอะไรวะ มึงไม่เคารพอาจารย์เลย มึงนิสัยไม่ดี
เพราะว่าเจมในตอนนั้น เอาอเมริกามาเต็มๆ แล้วเอาไปใช้กับคนเชียงใหม่ทั้งหมด เท่านี้คุณก็จะเห็นความขัดแย้งแล้ว คนที่นั่นที่เขาไม่ชอบคนเลี่ยมอยู่แล้วอะ เขาจะรู้สึกยังไง แล้วเจมที่กลับมาจากอเมริกามันเกินจากคำว่า "เลี่ยม" ไปไกล
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) :
สิ่งที่เจมส์ทำตอนนั้นมันเหมือนกับเป็นตัวแทนไหม มันคงจะมีกลุ่มเล็กๆ ที่เขาไม่กล้าพูดไหม
เจม :
ผมเชื่อว่าเป็น
แต่เหตุการณ์ในเรื่องนี้ มันอยู่ในสมัยก่อนมีโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก มันเลยเหมือนกับเจมส์ที่อยู่โรงเรียน แล้วก็เหมือนเป็นคนบ้าคนเดียวอะ (หัวเราะ)
คือมันมีฉากนึงในเรื่อง "James is Back" ... เอางี้... ที่โรงอาหารโรงเรียนพี่ปอ พี่ปอมีบัตรประกันภาชนะไหม?
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) :
บัตรประกันภาชนะ คืออะไรอะ? สมัยนั้น ไม่มี
เจม :
นั่นล่ะประเด็น พี่ปอ
คือเจมส์กลับมาจากอเมริกา แล้วพบว่าโรงเรียนที่เจมเคยเรียนอยู่ เวลาซื้ออาหารกลางวันมันไม่ใช่ว่าจะเอาเงินไปซื้อได้กินข้าวเลยนะ ที่โรงเรียนนี้คุณต้องแนบบัตรภาชนะ ยื่นไปพร้อมกับการซื้อข้าวด้วยด้วย ไม่งั้นไม่ได้กิน
พอกินเสร็จแล้ว คุณก็ต้องเอาจานไปคืน คุณจึงจะได้บัตรประกันภาชนะกลับมา
งงไหม?
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) : (ตั้งใจฟัง)
เจม :
ทีนี้เจมที่กลับมาจากอเมริกาก็เลยตั้งคำถามว่า บ้า อะไรวะเนี่ย เพราะว่าจุดประสงค์ของการกินข้าว มันคือการที่นักเรียนได้กินข้าวให้อิ่มแล้วกลับไปเรียนต่อไช่ไหม
แต่ที่โรงเรียนเนี่ย กลับมาห่วงว่านักเรียนจะไม่คืนจานมากกว่า
ประเด็นก็คือ ถ้าวิธีคิดแบบนี้ถูกต้องจริง ทุกโรงเรียนต้องมีบัตรประกันจานหมดแล้ว ปัญหาก็คือ เจมกลับมาจากอเมริกา เจมไม่มีบัตรประกันจาน เพราะเจมจำไม่ได้แล้วว่ามันอยู่ที่ไหน เพราะไปเรียนอเมริกามา 1 ปี
มันเลยหมายความว่า ในพักกลางวันนั้น เจมกินข้าวไม่ได้
คือถ้าเจมมีเพื่อน มันไม่ไช่ปัญหาหรอก แต่เพื่อนผมเจมเขาเรียนจบเข้ามหาวิทยาลัยหมดแล้ว เจมเรียนกับรุ่นน้องที่เจมไม่รู้จักซักคน
แล้วทีนี้เจมส์ก็ตั้งคำถามว่า เออ แล้วกูจะกินข้าวยังไงวะ กูไม่มีเพื่อนทำยังไง
คือวันนั้นถ้าเจมไม่มีน้องชายที่เรียนอยู่ที่เดียวกันเอาบัตรนี่มาให้ เจมจะไม่ได้กินข้าวแน่นอน แล้วเจมก็คิดว่าการใช้บัตรประกันจานเนี่ยมันนำสู่ปัญหาอีกมากมายในสังคม
เช่น เมื่อคุณไม่มีบัตรคุณยืมเพื่อนแล้วไม่คืน เพื่อนก็ไม่ได้กินข้าว
พอกินข้าวไม่ได้ แต่ทุกคนต้องกิน ในที่สุดมันก็จะมีนักเรียนไปที่ร้านอาหารแล้วหาวิธีที่ตัวเองจะได้กิน โดยไม่ต้องใช้บัตร อาจจะเป็นการไปคุย หาของไปให้ เป็นการสอนวิธีคิดแบบติดสินบนให้กับคนในสังคม
พอเราแก้ปัญหาที่ควรแก้ได้จากการฝึกด้วยระเบียบ มาเป็นระบบอะไรก็แล้วแต่ มันจะนำมาซึ่งการหาทางออกที่เต็มไปด้วยปัญหาอีกมากมาย
เจม :
คำนำหนังสือเล่มนี้ เขียนไว้ว่า
"ถ้าคุณอ่านสนุกอยู่ อาจเป็นเพราะว่าระบบการศึกษาไทยมันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย"
คือเราเติบโตมาในสังคม ที่ผู้ใหญ่หลีกเลี่ยงการตอบคำถามเด็ก ว่าทำสิ่งๆ นี้ไปเพราะอะไร ผู้ใหญ่ในเรื่อง "James is Back" ก็คืออาจารย์
จริงๆ แล้ว เจมในเล่มเขาไม่ได้โทษอาจารย์เลย เขาโทษระบบ เพราะอาจารย์ก็คือเหยื่อของระบบ แล้วมันไม่ได้เป็นแค่ที่ระบบโรงเรียน มันลามไปทุกระบบในประเทศนี้
แล้ว "James is Back" ก็เป็นแค่หนึ่งในผลลัพท์ของระบบ
แต่เจมเป็นผลลัพท์ที่กำลังกลายพันธุ์ จากระบบที่ผิดเพี้ยน
อินสไปร์การเขียนเล่มนี้ ในตอนแรก เพราะอยากพูดถึงระบบ แต่เราก็มีโจทย์ว่าจะต้องให้การเติบโตเชื่อมกับเรื่องก่อนด้วย คือเล่ม "1 ปี กับชีวิตที่ผมอยู่ในอเมริกา" ซึ่งมี 2 ซีซัน
พอเขียนด้วยโจทย์นี้ เวลาคุณไปอ่านคุณจะรู้สึกว่าไอ้เด็กนี้มันไม่คิดอะไรทั้งสิ้น เพราะมันต้องเป็นอย่างนั้น เล่มนี้เขียนด้วยความคิดของเด็ก อายุ 18 ที่เพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ
ชี้ดาบ ปีนี้เป็นปีที่ 9 เราทำหนังสือมา 16 เล่ม แล้วทุกเล่มใครอ่านก็ชอบ แต่เล่มนี้ครึ่งนึงชอบ ครึ่งนึงจะไม่ชอบ (หัวเราะ)
เป็นหนังสืออ่านง่าย ที่หลายคนบอกว่า อ่านยาก
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) :
"James is Back" พูดถึงระบบพวกนั้น แล้วเล่าผ่านบัตรประกันจาน?
เจม :
ใช่
ซึ่งถ้าคุณซื้อตัวเล่มไปแล้วเนี่ย คุณก็จะได้บัตรประกันจานไปด้วย แล้วบัตรประกันจานก็จะมี QR code ด้านหลัง สแกนไปก็จะไปเจอกับโรงเรียนชูโล่วิทยาคม
ซึ่งบัตรประกันจานที่แจกมันเป็นแค่กิมมิกเฉยๆ มันคือตัวแทนของการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ทำให้คุณเจอปัญหาใหม่ ใหญ่กว่าเดิม
มันชวนตั้งคำถามว่าทำไมเราต้องกลับไปแก้ไขด้วยนิสัยของเขา วิธีคิดของเขา เพราะการแก้ที่ปลายเหตุมันไม่ช่วย
เราโตมาในวิธีคิดแบบต้องถูกบังคับเพื่อให้เราต้องทำอะไรบางอย่าง แต่นั่นอาจะเป็นเพราะคุณไม่เคยคิดแก้มันตั้งแต่ต้นเหตุ
สมมติถ้าเกิดคุณสร้างห้องอาหารใหม่ คุณก็ต้องคิดแต่แรกแล้วนะว่านักเรียนเก็บจะจานยังไง
ไม่ใช่อยู่ๆ คุณจะสร้างใหญ่ๆ ผลาญงบรัฐ คาดหวังว่าเด็กมันจะเดินไปเก็บได้ พอเด็กไม่เก็บก็ไปโทษว่าเด็กไม่เอาไหน จริงๆ เรารู้อยู่แล้วด้วยซ้ำว่าเด็กมันขี้เกียจ แหม่คุณยังขี้เกียจเลย คุณก็รู้ มันต้องออกแบบตั้งแต่จุดเริ่มต้น เราถึงจะปรับพฤติกรรมของเด็กได้
อย่างโรงเรียนอเมริกัน ห้องอาหารถูกออกแบบมาให้เล็ก พอดีจำนวนคน ถูกคิดมาให้มีโฟลว์ในการเดินเข้ามา การกิน ก่อนออกห้องก็มีที่เก็บจาน พอมันง่าย ก็ไม่มีใครไม่เก็บ ไม่ต้องมีบทลงโทษด้วยซ้ำ
ถ้าคุณออกแบบโดยไม่คิดแต่แรก คุณก็ต้องสร้างระบบอะไรไม่รู้มาแก้ แล้วทำให้ทุกอย่างวุ่นวายไปหมด อย่างบัตรประกันจาน
แล้วอีกประเด็นของ "James is Back" คือการตั้งคำถามถึงสังคม ว่าแท้จริงแล้ว ที่ประเทศเรามันไม่เปลี่ยนไปเลยเนี่ย เพราะว่าเรามีสังคมที่เราไม่ฟังความเห็นต่างที่เราไม่ชอบใจหรือเปล่า
เล่มนี้จะท้าทายวัฒนธรรมในตัวคุณ ว่าคุณรู้สึกไม่ชอบ เจมเลิกฟังเจมหรือเปล่า
หรือว่าคุณจะทนฟังเจมส์ต่อไป ว่าเจมส์จะพูดอะไร
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) :
แปลว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้ ไม่ไช่ว่าคุณอ่านแล้วถูกใจรึเปล่า แต่มันหมายความว่าคุณมีวิธีคิดกับตัวเองอย่างไร?
เจม :
ก็อาจจะเป็นแบบนั้น...
แต่ตอนเขียนก็ไม่คิดลึกขนาดนั้นหรอก (หัวเราะ) การที่คุณไม่ชอบเจม มันเป็นรีแอคตามธรรมชาติของสังคม เมื่อเราเจอเรื่องที่แปลกจากสิ่งที่เป็นอยู่ เรามีแนวโน้มที่จะไม่ยอมรับมันก่อน
แต่การเปลี่ยนแปลง หลายครั้ง มันคือการฝืน ทำในสิ่งที่คุณไม่คุ้นเคย
ตัวเล่ม ที่คั่น กิมมิกบัตรประกันจานสีบานเย็น
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) :
กังวลว่าเล่มนี้จะเหมือนคนอายุ 35 มาเขียนรึเปล่า
เจม :
บอกเลย เล่มนี้ การันตีโดยการโดนด่า ว่าตัวละครตัวในเล่มเด็ก มันด่าทุกเรื่องโดยไม่มองอะไรให้รอบด้าน บางคนทนไม่ไหวกับความเป็นเจม จนทนอ่านต่อไม่ได้
แต่นั่นก็คือถูกแล้ว เพราะว่าความเป็นผู้ใหญ่ในสังคม คือการที่คุณเข้าใจหลายอย่างมากพอที่คุณไม่ตัดสินอะไร แต่กับเด็กคนนึงที่เห็นมาแค่นี้ แน่นอนเค้าจะต้องตัดสิน เพราะเขามีข้อมูลอยู่แค่นี้
พอคุณโตขึ้น เห็นข้อมูลมากขึ้น โดยธรรมชาติคุณจะตัดสินน้อยลงโดยอัตโนมัติ
ฉะนั้นเจมส์ในเล่มนี้ ที่อายุ 18 มันจะคิดแบบเด็กที่มีข้อมูลเท่านี้ - มันโปรอเมริกา มันไม่ชอบโรงเรียนที่มันอยู่ มันเกลียดอดีตของมัน
(ในขณะที่เจมในวัย 30 จากเรื่อง "13 Years After" มันอีกเรื่องแล้วนะ มันกลายเป็นคนที่ไม่ชอบอเมริกา และรักอดีตของตัวเองไปแล้วด้วยซ้ำ)
แล้วตอนผมเขียน ผมรู้สึกสะใจมากนะ (หัวเราะ) เพราะการเขียนเล่มนี้ ทำให้ผมในวัย 35 ได้กลับไปคิดแบบเด็กคนนั้นอีก ได้ด่าอาจารย์ ได้ด่าหลายอย่างๆ ที่เราในวัยนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะเราเป็นผู้ใหญ่ เราคิดเยอะขึ้น
มันเลยสนุกมากตอนที่เขียน เพราะได้ปลดปล่อย ได้เป็นตัวเองในวัยที่ยังไม่ต้องคิดอะไรมากขนาดนี้ หลังๆ ผมคิดอยู่บ่อยๆ นะ ว่าสิ่งที่ทำให้เราไม่มีความสุขเนี่ย คือการที่เราต้องคิดเยอะ
เจมส์ในวัย 18 ตอนนั้นเนี่ยเติบโตมาด้วยพลัง ไม่กลัวใครจะคิดยังไง เขาทำทุกอย่างและแก้ไขปัญหาแบบที่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว
ผมคิดว่า เขาเข้าถึงความสุขได้มากกว่าผมในวัย 35 นะ (หัวเราะ)
เขาเข้าใจการเป็นตัวของตัวเอง และเข้าใจการคิดให้น้อยลงจากสังคมที่บอกให้เราคิดดีๆ ก่อนนะ เจมส์ในเล่มบอกว่า ถ้าคุณคิดดีก่อนทุกอย่าง หมายความว่าเราจะไม่ได้ทำอะไรซักอย่างเลยนะ
เจมส์ไม่คิด และทำตามสัญชาติญาณ และเจมส์ก็ปรับตัว และเติบโตมาเป็นเจมในวัยนี้
ที่กำลังพูดอยู่นี้
ผู้สัมภาษณ์ (คุณปอ) :
แล้วเล่มนี้ จริงๆ แล้วเจมตั้งใจสื่อสารกับใคร?
เจม :
จริงๆ แล้ว ผมต้องการสื่อสารถึงเจน Z นะ มันมีโจทย์บางอย่างที่ผมกับเจ็นนี้เจอเหมือนกัน (มันมีหลายคนบอกว่าผมเหมือนเจ็น Z ในยุคของเจ็น Y) และหนังสือเล่มนี้จะบอกคุณในตอนที่คุณอ่านจบ แต่คุณจะตีความยังไงมันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคุณ
ในขณะที่เจน Y เราแค่อยากสื่อสารให้คุณรู้ว่า ประเทศต่อจากนี้ไปมันจะถูกผลักดันด้วยคนเจนนี้ และถ้าคุณห้ามเขาเป็นตัวเองไม่ได้หรอก
ก็มีหลายคนที่อ่านจนจบเขาก็บอกว่า เจมมันก็ไม่ได้ผิด มันก็แค่ทำแบบที่มันเชื่อ สังคมรึเปล่าที่ไม่ชอบเจมส์แล้วทำให้คนแบบเจมส์ไม่ได้ทำอะไรเลย
แต่สุดท้าย เจมในเวอร์ชั่นที่วิวัฒนาการแล้ว ก็หาทางจนได้
James is Back เป็นแค่จุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการนี้ ซีรีส์นี้จริงๆ วางไว้ทั้งหมด 3 เล่ม อีกสองเล่มคือ "James was here" กับ "James is Gone" มันคือไตรภาคที่ตั้งใจแตกประเด็นสังคมออกมา
-----
งานหนังสือศรีราชา
4 พ.ย. 2023